ชาวไทยพุทธใน 4 จังหวัดชายเเดนภาคใต้ ร่วมพบปะเพื่อบอกเล่าสถานการณ์ของชาวไทยพุทธในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อพลเอกชุลกีฟลี ไซนัส อบิดิน ผู้อำนวยความสะดวกในการพูดคุยสันติสุขฝ่ายมาเลเซีย ระหว่างการเดินทางมาพบเครือข่ายชาวไทยพุทธที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี โดยมีพลเอกวัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขฝ่ายไทยเดินทางมาด้วย
โดยตัวเเทนชาวพุทธได้รายงานตัวเลขของชาวไทยพุทธที่ลดลงต่อเนื่องจากสถานการณ์ทำให้การย้ายถิ่น โดยก่อนเกิดเหตุความไม่สงบมีคนไทยพุทธกว่า 300,000คน คนมุสลิมกว่า 1,700,000 คน เเต่ความรุนเเรงช่วง 19 ปี ทำให้คนไทยพุทธบาดเจ็บเเละเสียขีวิตกว่า 9,700คน ทำให้ปัจจุบันเกิดการย้ายถิ่นเหลือคนไทยพุทธ 150,000 คน หรือร้อยละ 6.6 จึงอยากให้ยุติความรุนเเรงกับคนไทยพุทธ
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ เครือข่ายชาวไทยพุทธเคยยื่นเสนอต่อโต๊ะการพูดคุยระหว่างคณะพูดคุยฝ่ายไทย และกลุ่มบีอาร์เอ็น โดยอยากเห็นพื้นที่สาธาระณะปลอดภัย และงดเว้นการก่อเหตุกับพลเรือนเพื่อให้ทุกคนได้ปลอดภัยไม่ว่านับถือศาสนาใด
ขณะที่พลเอกชุลกีฟลี กล่าวว่า ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาภายในของไทย โดยมาเลเซียมาทำหน้าที่คนกลางเพื่อช่วยแก้ปัญหา ซึ่งในพื้นที่มีความหลากหลายของคนหลายศาสนา จึงไม่อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง หรือแนวทางใดแนวทางหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาได้ แต่ต้องแสวงหาแนวทางร่วมกัน ซึ่งการบรรลุข้อตกลงในการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสันติภาพแบบองค์ร่วม หรือ JCPP ร่วมกันภายใน 2 ปีจะเป็นโรดแม๊บสำคัญในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
นอกจากนี้ยังยกตัวอย่าง ปัญหาความขัดเเย้งกับกลุ่มคอมมิวนิสต์มลายาในมาเลเซียในอดีต ที่มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ซึ่งทางการไทยช่วยเป็นคนกลางจนได้ข้อตกลงหยุดยิง พร้อมชี้ว่า ปัญหาความรุนเเรงเกิดขึ้นจากคนบางกลุ่ม ไม่ใช่ปัญหาของศาสนา เเละขอให้ทุกคนอย่าปิดตายปฎิเสธการพูดคุย เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะเเก้ปัญหา จึงอยากให้ทุกคนเข้ามาพูดคุย นำเสนอปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกัน
ขณะที่เมื่อช่วงเช้ามืดที่ผ่านมา ผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยสันติสุขฝ่ายมาเลเซียได้ร่วมละหมาดกับชาวไทยมุสลิมที่มัสยิดกลางปัตตานี ก่อนล้อมวงพูดคุยกับชาวบ้าน โดยยังเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของมาเลเซียที่จะช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบอย่างเต็มที่ ซึ่งตัวเองจะนำประสบการณ์จากการทำงานด้านสันติภาพมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หลังจากนั้น พลเอกชุลกีฟลี ได้เดินทางไปที่ตลาดสดเทศบาลเมืองปัตตานี และแวะทักทายพ่อค้าแม่ค้าในตลาดเช้าอย่างเป็นกันเอง และได้ซื้ออาหารพื้นบ้านของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มารับประทาน ก่อนจะเดินทางต่อไปร่วมพูดคุยกับชาวบ้านที่ร้านน้ำชา ซึ่งถือเป็นวิถีชีวิตของคนในพื้น
————————–