Wednesday, 5 February 2025

เรื่องเพ้อฝันกลุ่ม BRN ก่อเหตุ สร้างความแตกแยก หวังดึง UN มาร่วมแก้ปัญหาในพื้นที่ จชต.

พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ ที่ปรึกษาคณะพูดคุยสันติสุขเชื่อมั่นชาติตะวันตกเข้าใจการแก้ปัญหาความไม่สงบในจชต.ของรัฐบาล มั่นใจแนวทางกลุ่มเห็นต่าง BRN ทำร้ายเป้าหมายอ่อนแอ สร้างความแตกแยก ขยายความขัดแย้ง หวังให้กองกำลังสันติภาพจากUN ลงมาร่วมแก้ปัญหาในพื้นที่เรียกร้องเอกราชเป็นเรื่องเพ้อฝันไม่มีหนทางที่เป็นไปได้เลย

พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ หน.คณะพูดคุยสันติสุข เดินทางกลับจากสวิสถึงประเทศไทยเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา หลังนำคณะไปร่วมหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับปลัดกระทรวงการตปท.สวิส และทีมงานผู้เชี่ยวชาญของรัฐบาลในเรื่องการสร้างสันติภาพจากทั่วโลก นำบทเรียนจากหลายประเทศทั่วโลกที่มีปัญหาความขัดแย้งด้วยอาวุธนำไปสู่การพูดคุยแก้ปัญหาในแต่ละภูมิภาคมาหารือแลกเลี่ยนทัศนประสบการณ์ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ได้สัมภาษณ์พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์  ที่ปรึกษาคณะพูดคุยฯ อดีตแม่ทัพภาคที่สี่ ที่มีความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ความไม่สงบในจชต.ซึ่งได้ร่วมคณะเดินทางไปแลกเปลี่ยนความเห็นกับผู้เชี่ยวชาญของทางสวิส ทำให้เกิดความเข้าใจที่ดีต่อการแก้ปัญหาจชต.  ช่วยให้ทางสวิสมีความเข้าใจต่อกระบวนการทำงานแก้ปัญหาตลอดช่วงที่ผ่านมาของรัฐบาลไทย และเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลสวิสอาจติดต่อประสานพูดคุยกับทางรัฐบาลมาเลเซียและกลุ่มผู้เห็นต่างBRN ในอนาคตเพื่อรับทราบจุดยืนทัศนของแต่ละฝ่ายที่อาจมีส่วนช่วยหนุนเสริมการแก้ปัญหาความไม่สงบในจชต.  จากการที่ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนต่อกันทำให้มีความมั่นใจมากต่อแนวทางการต่อสู้ของ BRN ตลอดช่วงที่ผ่านมาในการทำร้ายเป้าหมายอ่อนแอ ขยายความขัดแย้งในพื้นที่ หวังให้มีกองกำลังสันติภาพจาก UN เข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาจชต.เป็นเรื่องที่ไม่มีความเป็นไปได้เลย 

# สาเหตุที่รัฐบาลสวิสเชิญคณะพูดคุยฯไปร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น

กระทรวงการตปท.สวิสมีผู้เชี่ยวชาญอยู่ในมือที่ติดตามสถานการณ์การสร้างสันติภาพจากทั่วโลก   มีผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในเรื่องการต่อสู้ในโคลอมเบีย ซูดานใต้  ไอร์แลนด์เหนือ ทั่วโลกทีมีความขัดแย้งและมีการแก้ไขปัญหาที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะมาพูดถึงกระบวนการออกแบบสันติภาพเป็นหลัก เชิญคณะพูดคุยของไทยไปรับฟังแลกเปลี่ยนความเห็นมุมมองต่อความพยายามสร้างสันติภาพในจชต.

# สวิสมองสถานการณ์ความไม่สงบในจชต.อย่างไร

เขามองว่ามันเป็นปัญหา เล็กๆครับหลังจากที่เขาฟังข้อมูลจากเรา เปรียบเทียบกับที่อื่นๆ ของเรามันยังเด็กมาก แต่มันอาจจะยังไม่เห็นมุมมองที่แท้จริงมันเลยออกจากปัญหามาก ส่วนใหญ่เขาเห็นว่าควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เรียกว่า actor ทั้งหลายมีใครบ้างพยายามรวมให้เห็นว่ากลุ่มไหนมีส่วนร่วมที่จะมาร่วมในกระบวนการพูดคุย

# แนวโน้มในอนาคตการเข้ามาของชาติตะวันตกมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาจชต.

ไม่ถึงขนาดนั้น  ขณะนี้ผมเห็นว่าทุกส่วนเห็นแล้วว่า ความไม่สงบในประเทศชาติของเรามันไม่ใช่ความรุนแรงเมื่อเทียบก้บ โคลอมเบีย ไอร์แลนด์เหนือ  หรือซูดานใต้  พอเขาฟังเราแล้ว  ทีแรกเขาคิดว่ามันรุนแรงมาก แต่เมื่อบางส่วนได้เข้ามาสัมพันธ์กัน มารับฟังคำชี้แจงแล้ว เขาเห็นว่ามันไม่ใหญ่โตถึงขนาดนั้น และแนวทางที่เราดำเนินการอยู่ มันก็ดีอยู่แล้ว หนึ่งเราอยู่ภายใต้กฎหมายชัดเจนเลย สองเรื่องละเมิดสิทธิมนุษยชนเราก็มีความช้ดเจน จนท.เรามีความรู้มากขึ้นจากเดิมมาก รวมถึงจากประสบการณ์สมัยพรรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเอามาประยุกต์ใช้ได้  ไม่ค่อยห่วงเท่าไหร่  เขาอยากให้เห็นว่ากระบวนการแก้ไขแต่ละที่ มันมีตัวใหญ่คือใคร การใช้คำถามพูดคุยกันเพื่อให้เข้าใจแล้วนำไปขยายผลมันน่าจะเอามาประยุกต์ใช้ได้  ผมได้ไปร่วมพูดคุยกับเขาก็เห็นบางส่วนมันน่าจะมาดัดแปลงมาใช้ได้ด้วย ผมยกตัวอย่างเช่น อย่าง BRNเขากันคนอื่นไม่ให้เข้าวง พวก MARA ก็ดี PULO ก็ดี  กลุ่มอื่นๆก็ดี พวกนี้เราควรจะทำอย่างไร มันก็มีข้อแลกเปลี่ยนครับ ตอนหารือพูดคุยเราก็ได้วิเคราะห์หารือกัน เขาสงสัยก็ถามให้เราตอบเป็นอย่างไร ช่วยกันคิดด้วยกันจะหาทางออกอย่างไร อย่างเช่นการที่ผู้เห็นต่างที่ทำผิดกฎหมายจะเข้ามามีส่วนร่วมหารือในจชต.ด้วย มันเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมอย่างไร  เช่นคนที่ผิดกฎหมายอยู่ อยากจะเข้ามา เราก็มีคำถามว่าที่จะเข้ามามีจุดประสงค์อะไร  เป็นการวิเคราะห์  มันจะเสียหายไหม ถ้าคนทำผิดกฎหมายมาชี้แจง เรายืนยันถ้าคุณทำผิดกฎหมายมันเสียหายแน่นอน  แต่ถ้าคนอื่นที่ไม่มีส่วนในคดีความ มันเป็นเรื่แงธรรมดาที่เขาสามารถมาพูดคุยกับมวลชน แต่เราก็จับตาดูเป็นหลักใหญ่ครับ

(ปล.ระหว่างการพูดคุยสันติสุขท มีสารัตถะในสามเรื่อง การลดความรุนแรง บทบาทของภาคปชส. และการแก้ปัญหาทางการเมือง ในเรื่องบทบาทภาคปชส. ทางBRNต้องการส่งตัวแทนที่มีคดีอาญาติดตัว มีหมายป.วิอาญา มาร่วมพูดคุยกับภาคปชค. ถูดคัดค้านจากคณะพูดคุยฝ่ายไทย)

# มีข้อเสนอแนะอะไรต่อสถานการณ์ในพื้นที่

เขาอยากให้วิเคราะห์เป็นกระบวนจะได้เห็นทางออก มีความยากลำบากค่อยๆแก้ไขไป อย่างเช่นใครมั่งเป็นผู้แสดง แสดงเรื่องอะไร  เรื่องที่มันเกี่ยวข้อง สมมติว่าแก้ไขไม่ได้ เช่นเรื่องเชื้อชาติ ที่เขาเอามาครอบไว้ มันควรจะทำอย่างไร ออกแบบขบวนการเรื่องพวกนี้ ตัวละครในเรื่องที่เกิด  เรื่องที่แก้ไม่ได้ควรจะออกแบบวางแผนอย่างไร  ยกตัวอย่างเช่นการ    ปลุกระดมในเรื่องของเชื้อชาติศาสนา มันควรจะมีกระบวนการในการวาง แผนปฎิบัติและออกแบบและนำไปประมวลผลอย่างไร ผมเห็นกระบวนระบบของเขาอย่างนั้น นำเอามาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับเราน่าจะช่วยให้ครอบคลุมมากขึ้น  ซึ่งเรื่องพวกนี้เราทำอยู่แล้วเพียงแต่เราไม่ได้วางเป็นขบวน มันอาจไม่ครอบคลุมตัวแสดงบางตัว  เขามองดูว่าทำไมมันยุ่งยากซับซ้อน  แต่ความรุนแรงในจชต.มันไม่เท่าที่นู่น  ทำไมแก้แล้วยังไม่บรรลุ  เลยมาคุยกันเรื่องกระบวนการความรู้ ที่จะออกแบบ  เขาก็ไม่คิดว่าเรามีความรู้ครอบคลุมเหมือนที่นั่น เพียงแต่เราอาจยังจับกระบวนการยังไม่เพียงพอ แต่พอฟังแล้วก็เห็นว่าจัดกระบวนการเพียงพอ  โคลอมเบีย ต้องใช้เวลากี่ปี ซูดานต้องกี่ปี ไอร์แลน์เหนือกี่ปี เขาก็เห็นว่าเราก็ก้าวหน้า เพียงแต่เราไม่ได้อธิบายเป็นกระบวนการอย่างที่เขาอธิบาย

# ความเป็นไปได้ที่เขาจะเชิญทางมาเลเซีย BRN ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น

ผมยืนยันมาเลเซียเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของเรา ถ้าเขามีความประสงค์จะคุยกับผู้อำนวยความสะดวกมาเลเซีย ก็ดีทางสมช.ของมาเลเซียก็ดี มันเป็นเรื่องที่ดี มาเลเซียเขาก็อยากสงบ อาจจะได้มุมมองจากทางสวิสว่าเป็นอย่างนี้ ผมก็เห็นดีว่าทางฝ่ายที่เห็นต่าง  เขาจะชวนไปพูดคุยให้ความรู้ แนวคิดอะไรนี่ เมื่อทุกคนคิดตรงกันมันอาจมีช่องทางที่ว่าเออใช่นะ ไอ้เอกราชคงไม่มีทางเป็นไปได้หรอก จริงๆแล้วบางส่วนยังคิดเรื่องเอกราชอยู่ เราจะจับลงยังไง อะไรพวกนี้

# การทำร้ายเป้าหมายอ่อนแอในพื้นที่ของ BRN  สวิสมองอย่างไร

เขาก็มองว่าการทำร้ายเป้าหมายอ่อนแอมันต้องเกิดขึ้น  กดดันการพูดคุยให้ได้ประโยชน์ต่อเขา เป็นเรื่องปกติที่เราต้องแก้ไข ทุกคนเห็นว่าเขาใช้วิธีการที่ไม่ถูกต้อง มัไม่ถูกต้องก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลต้องดูแลให้ความปลอดภัย ใครจะใช้วิธีแยบยลสกปรกอย่างไรก็เป็นหน้าที่ของเราต้องดูแลช่วยเหลือ  ผมเคยบอกแล้วว่าใครที่มวลชนไม่เอาด้วยเมื่อไหร่ สักวันเขาแพ้แน่นอนเขาก็เห็นดีด้วยเรื่องพวกนี้ถ้าไม่มีมวลชนสนับสนุนนก็ตายแน่นอน

# บทบาททางยุโรปมามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาจชต.

เป้หมายเดิมของbrnหรือกลุ่มก่อความไม่สงบ เห็นว่ากำลังที่มีอยู่ไม่มีทางเอาชนะและแบ่งแยกเราได้ เขาก็ต้องใช้วิธีใช้เล่ห์เหลี่ยมทุกวิธี เพื่อไปดึงทางต่างชาติ UN องค์กรทางยุโรปเข้ามากดดันพวกเรา เพื่อที่จะได้ในสิ่งที่เขาต้องการ เขาหวังอย่างนั้น  แต่พอได้พูดคุย ตอนหลังผมคิดว่าทางฝั่งตต.เขาเห็นว่าประเทศไทยที่เป็นรัฐบาล มีความชอบธรรมในการปฎิบัติการภายใต้เงื่อนไขที่สากลรับได้ไม่ว่าในเรื่องกฎหมายสิทธิมนุษยชน  กฏหมายสากล ไม่ว่าในเรื่องของการเมือง การทหาร การพัฒนาเรามีกำลังทหารไว้ทำหน้าที่ป้องปรามไม่ให้สถานการณ์มันลุกลาม ผมว่าขณะนี้เขาคงเห็น  ถ้าทางสวิสเอามาเลย์  BRN ไปคุย เขาคงจะเห็น  แล้วคงคิดว่าช่องทางต่อรองไม่น่าทำแบบนี้เพราะมันแพ้อยู่แล้ว มวลชนไม่เอาด้วยความหวังที่ว่าจะให้ UN เอากองกำลังสันติภาพเข้ามามันเป็นศูนย์อยู่แล้วครับ

# มุมุมองต่อการใช้กฎหมายพิเศษในจชต.

เขาเข้าใจเลยว่ากฎหมายพิเศษมีไว้ในยามที่สถานการณ์ไม่ปกติ เพราะว่าบางเรื่องบางกระทรวงทบวงกรม การทำงานมันไม่เชื่อมโยง เมื่อมีกฎหมายพิเศษมันสามารถเชื่อมโยงอะไรต่างๆได้ เขามองเห็น เขาเห็นว่าเราใช้แล้วไม่ได้ละเมิดสิทธิมนุษยชน เราใช้แล้วมันไม่มีปัญหากัยบการประกอบอาชีพของปชช.ทั่วไป ไม่ว่าการประกาศกฎอัยการศึก สถานการณ์ฉุกเฉิน ห้ามออกนอกพื้นที่ก็ทำเฉพาะกรณีไม่ได้ทำพร่ำเพรื่อหรือขยายจนปชช.เดือดร้อน เขาเข้าใจจากการที่เราชี้แจง ไอ้อันนี้มันเป็นอาวุธที่ฝ่ายตรงข้ามเขาเห็นว่าทำให้เขาเคลื่อนไหวยาก เขาต้องโจมตีว่าเราต้องละเมิดสิทธิมนุษยชน เรื่องแบบนี้ทางสวิสเขาเข้าใจครับ

# ได้อะไรจาการแลกเปลี่ยน

ได้ความคิดที่เป็นกระบวนการ โดยได้ตัวอย่างบางตัวอย่างกลับมาเช่นการมีส่วนร่วมของ actor หรือของตัวแสดงต่างๆ เราควรจะมาจัดวางใครก่อนหน้าหลัง หรืออยู่ข้างล่างอย่างไร มันน่าจะทำให้ยืดหยุ่นในการพูดคุยส่งผล  ไม่ใช่ BRN คิดว่ามีแต่พวกเขาพวกเดียวแต่มันยังมีตัวละครกลุ่มอื่นๆพูดคุยให้เห็นว่าความเห็นสุดโต่งของ BRN อย่างเดียวไม่น่าจะถูกต้อง

————————–

เพจข่าว : เสริมสุข กษิติประดิษฐ์ – Sermsuk Kasitipradit