Wednesday, 5 February 2025

“ทุเรียนกวนเจาะไอร้อง” ส่งเสริม สร้างอาชีพ สร้างรายได้สู่ครอบครัว

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2564 เวลา 1300 น. พลตรี ไพศาล หนูสังข์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 15/ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พร้อมด้วยพันเอกเอกพล เลขนอก ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 48  และคณะ เดินทางลงพื้นเยี่ยมชมวิสาหกิจชุมชนทุเรียนกวน บูโดเรี่ยน ณ บริษัท ซี แอนด์ เอ็ม โกลด์ พริต จำกัด GOLD FRUIT CO.ALTD &M หมู่ที่ 3 ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส โดยได้ศึกษา เรียนรู้ พร้อมทั้งบูรณาการ วิธีการแปรรูปทุเรียน ตลอดจนการเก็บรักษา เพื่อจะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนา ต่อยอด และปรับใช้ภายในโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามพระราชเสาวนีย์ ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ควบคู่กับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้สมาชิกฟาร์มฯ มีรายได้ สามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้

สำหรับปัจจุบัน “ทุเรียน” ได้รับฉายาว่าเป็น ราชาแห่งผลไม้ (King of fruits) เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในเขตที่มีสภาพอากาศร้อนชื้น ทุเรียน ถือว่าเป็นผลไม้สําคัญของประเทศไทยที่นอกจากบริโภคใน ประเทศแล้ว ยังสามารถส่งออกทํารายได้ให้กับประเทศในแต่ละปีจํานวนมาก โดยในปี 2563 การส่งออก ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ทุเรียนสด, ทุเรียนแช่แข็ง, ทุเรียนอบแห้ง, และทุเรียนกวน มีปริมาณ 680,872.5 ตัน และมีมูลค่ารวม 51,035.7 ล้านบาท  การปลูกทุเรียนจะเริ่มให้ผลผลิตต้ังแต่ปีที่ 5-6 เป็นต้นไป โดยทุเรียนที่เพาะปลูกในประเทศไทยมี หลากหลายสายพันธุ์มากกว่า 200 พันธุ์ แต่มีพันธุ์ที่เป็นที่นิยมสําหรับการบริโภคและการค้า และได้รับการ ส่งเสริมประมาณ 5 พันธุ์ ได้แก่ พันธ์ชะนี พันธุ์หมอนทอง พันธุ์ก้านยาว พันธุ์พวงมณี และพันธ์ุกระดุม รวมถึงทุเรียนพันธุ์พื้นบ้านอีกหลากหลายชนิด

ซึ่งส่วนใหญ่พบมากในพื้นท่ีภาคใต้ตอนล่าง หรือพื้นที่สามจังหวัดชายแดน จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งทุเรียนพันธุ์บ้านเหล่านี้ เป็นวัตถุดิบในการนำมาถนอมอาหาร  การทำทุเรียนกวน เพื่อเป็นการเสริมสร้างรายได้ ให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่  เมื่อเข้าช่วงฤดูกาล ทุเรียน ชาวบ้านในตำบลบูกิต ได้แก่บ้านโต๊ะเล็ง บ้านบูเกะ บ้านเจาะเกาะ บ้านบาตาปาเซ บ้านดารุลอิฮสาน บ้านบือราแง บ้านบูเกะตาโมง บ้านบูเกะกือจิ บ้านไอสะเตียร์ เป็นต้น ก็จะนำผลทุเรียน และเนื้อทุเรียนมาขายให้กับพ่อค้าคนกลางที่รับซื้อเนื้อทุเรียนในหมู่บ้าน หรือไปขาย ให้กับโรงงานผลิตทุเรียนกวนท่ีอยู่ในชุมชนโดยตรง  ซึ่งการนำทุเรียนมาแปรรูป สร้างรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในชุมชน เฉลี่ยต่อเดือนประมาณครัวเรือนละ 27,432-40,484บาท

———————————-