การพูดคุยสันติสุขวันแรก 11 ม.ค. 65 (ครั้งที่ 3) ที่กรุงกังลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ระหว่าง พล.อ.วัลลพ รักเสนาะ หน.คณะพูดคุย ตัวแทนฝ่ายรัฐบาลไทย และนายอนัส อับดุลเราะห์มาน หน.คณะพูดคุยฝ่าย BRN ตัวแทนของนายอับดุลเราะห์ แวมานอ ผู้นำ BRN ที่เคลื่อนไหวหลบซ่อนตัวอยู่ในมาเลเซีย โดยมีตันศรี ราฮีม นอร์ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกฝ่ายมาเลเซีย ช่วยประสานในการพูดคุยของทั้งสองฝ่าย สามารถบรรลุกรอบการทำงานร่วมกันในสามประเด็น ซึ่งเป็นความเห็นร่วมกันจะมีการประชุมหารืออีกรอบในวันพรุ่งนี้ถึงรายละเอียดของกรอบการทำงานดั่งกล่าว ที่ทั้งสองฝ่ายจะใช้เป็น Road map ในการพูดคุยหลังได้ข้อยุติร่วมกัน
บรรยากาศของการพูดคุยในวันนี้เป็นไปด้วยดี โดยทางฝ่าย BRN ได้เสนอขอให้มีการปรับแก้ไขข้อความเพิ่มเติมในเรื่องกรอบการทำงาน คาดในวันพรุ่งนี้น่าจะได้ร่างสุดท้าย ก่อนที่จะมีการนำเสนอให้ทางผู้อำนวยความสะดวกรับทราบ และใช้เป็นแนวทางในการพูดคุยครั้งต่อไป
กรอบการทำงานร่วมกันใน 3 ประเด็น
1.การลดสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่
2.การมีส่วนร่วมทางการเมือง
3.กลไกการปรึกษาหารือในพื้นที่
คณะผู้แทนฝ่ายรัฐบาลไทยมีทั้งหมด 7 คน จะเดีนทางกลับไทยที่ จว.ภูเก็ต ในวันพรุ่งนี้ และจะแถลงข่าว ความคืบหน้าของการพูดคุยในวันที่ 15 ม.ค. และช่วงปลายเดือนจะนำผลการพูดคุยรายงานให้คณะประสานงานะดับพื้นที่ (สล.3) ที่มี พล.ท.เกรียงไกร ศรีรักษ์ (แม่ทัพ ภาคที่ 4) เป็น หน.คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) และมี พล.ท.ธิรา แดหวา (แม่ทัพน้อย ภาคที่ 4) เป็นเลขาฯ คณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) รับทราบ โดยคณะประสานงานระดับพื้นที่ (สล.3) มีหน้าที่ร่วมสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการพูดคุยสันติสุข จชต. โดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า แต่งตั้งคณะทำงานจากผู้นำภาคประชาชนทุกภาคส่วน เกือบ 200 คน ร่วมประชุมกันทุกเดือน
หลัง พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคณะพูดคุยแทน พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์ อดีตแม่ทัพภาค 4 ได้มีการพูดคุยสันติสุขมาแล้ว 2 ครั้งที่มาเลเซีย
ครั้งแรกเมื่อวันที่ 19-20 ม.ค.63
ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 2-3 มี.ค.63
และได้หยุดการพูดคุยหลังเกิดการระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ยังใช้ช่องทางออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM ของคณะทำงานด้านเทคนิค
จนท.ฝ่ายความมั่นคงตั้งข้อสังเกตถึงเหตุการณ์ความไม่สงบใน จชต. ที่เกิดค่อนข้างถี่ช่วงปลายปีต่อต้นปี มาจากการสั่งการของแกนนำ BRN ในมาเลเซียให้ก่อเหตุในพื้นที่ จชต. เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ BRN ในการก่อเหตุร้าย โดย BRN ยังคงรูปแบบการใช้ความรุนแรงกระทำต่อประชาชนผู้บริสุทธ์ทั้งพุทธและมุสลิมในพื้นที่ตลอดช่วงที่ผ่านมา เป็นแนวทางหลักที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2547 หลังเหตุการณ์ปล้นปืน หวังสร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนต่างศาสนิกในพื้นที่ ผู้นำศาสนาในพื้นที่หลายคนถูกลอบทำร้ายหมายเอาชีวิตตลอดช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับแนวทางการก่อเหตุร้ายของ BRN ที่ใช้ความรุนแรงทำร้ายผู้บริสุทธ์ โดยอ้างหลักการทางศาสนาอิสลาม
———————————