ศูนย์บ่มเพาะฯ ยะลา เดินเครื่องส่งทุเรียนแช่แข็ง Freeze dried สู่ตลาดจีนหลังรับซื้อไม่อั้น ช่วยชาวสวนเพิ่มมูลค่าผลผลิต สร้างงาน สร้างรายได้ ประชาชนช่วงโควิด
ที่เห็นอยู่นี้เป็นทุเรียน จำนวนมาก ที่ทางศูนย์บ่มเพาะธุรกิจการแปรรูปและตลาดทุเรียน กลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ หมู่ที่ 7 บ้านสีคง ตำบลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ได้เริ่มเดินเครื่อง ปรับแผน ทำทุเรียน Freeze dried หรือ ทุเรียนแช่แข็ง จากปัญหาการส่งออกผลผลิต เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 โดยการรับซื้อทุเรียน จากชาวสวนทั้งในพื้นที่ จ.ยะลา และพื้นที่ใกล้เคียง ทั้งทุเรียนส่งเป็นลูก ทุเรียนตกไซด์ ไม่ได้ขนาด ผลไม่สวย มีตำหนิ เบอร์รู เบอร์จิ๋ว ทุเรียนสุกหล่น เพื่อนำมาคัดเกรดทุเรียนส่งเป็นลูก รวมถึง นำมาแกะเนื้อแช่แข็ง ส่งออกประเทศจีน เพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิตทุเรียน ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวน ให้สามารถขายผลผลิตได้ในช่วงราคาผลผลิตตกต่ำ อีกทั้งยังเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับคนทั้งในพื้นที่ และคนต่างพื้นที่ ด้วย
สำหรับทุเรียนที่นำมาแช่แข็ง ก็จะเป็นทุเรียนพันธุ์หมอนทอง เท่านั้น ซึ่งจะมีเนื้อมาก แก่จัด ความสุกประมาณ 80 % ขึ้นไป บ่มสุกไว้ประมาณ 3 วัน ก็จะนำมาแกะ มาคัดเกรด A และ B ทำเนื้อทุเรียนแช่แข็งเตรียมส่งออก
นางเพ็ญนุรัตน์ โพธิ์โพ้น ผู้จัดการ ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มรับซื้อผลลิตทางการเกษตร บริหารศูนย์บ่มเพาะ ฯ บอกว่า สำหรับจุดเริ่มต้นของการทำโรงานแปรรูปแช่แข็งเนื้อทุเรียนนี้ เริ่มต้นมาจากปัญหาเวลาทุเรียนตกต่ำ เกษตรกรใน จ.ยะลา หรือ ใกล้เคียง ไม่รู้นำผลผลิตไปไหน ทางชุมพรหยุด นราธิวาส ปัตตานี ก็ต้องวิ่งมายะลา หมด โรงงานนี้ก็รับได้
ในส่วนของการดำเนินการ ได้เริ่มต้น มาได้ประมาณเดือนกว่า ๆ ในช่วงทุเรียนราคาตก ก็ได้เปิดรับซื้อผลผลิตทุเรียน เลย ในการนำทุเรียน มาแกะ แปรรูปแช่แข็ง จำนวน 500 ตัน ซึ่งเป็นออเดอร์ของประเทศจีน ที่จะรับซื้อหมด สำหรับทุเรียนยะลา เป็นทุเรียนที่รสชาติอร่อย สีเข้ม ความหวานเข้ม เนื้อมาก เป็นทุเรียนสะเด็ดน้ำ เนื้อแห้งสวย ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
สำหรับกลุ่มคนงาน ก็จะมีการจ้างงานจาก เยาวชน กลุ่มเกษตรกร ชาวบ้านทั่วไป ไม่มีงานทำในสถานการณ์โควิด-19 กลับจาก กทม. ภูเก็ต กลับมาอยู่ยะลา ก็ได้มาแกะเนื้อทุเรียน ได้มีรายได้ วันหนึ่ง 400-500 บาท ก็สามารถอยู่กันได้ โรงานนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยให้คนในพื้นที่ได้มีงานทำ มีรายได้ 100 กว่าชีวิต
ต่อไปในอนาคตข้างหน้า หากทางภาคอื่นทุเรียนราคาตกต่ำ เราก็สามารถรับซื้อมาแช่แข็งได้ ไม่เพียงแต่ทุเรียน เงาะ มังคุด ลำไย ก็สามารถนำมาแช่แข็ง ได้ด้วย ซึ่งสามารถรับผลผลิตของเกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 4-5 พันตัน ในส่วนของการส่งออก นั้น ก็จะส่ง 3 วันครั้ง แกะเนื้อได้ 32 ตัน เนื้อแช่แข็งลากตู้คอนเทรนเนอร์ เข้าจีนได้เลย ก่อนหน้านี้มีปัญหา หลังจากนั้น ก็ดีขึ้นประเทศจีนมีความเชื่อมั่นการส่งออกทุเรียนไปจีน หลัง ทาง จ.ยะลา มีมาตรการคุมเข้มฉีดวัคซีน ให้ทุกล้งทุกแผง ทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกวันตอนนี้ก็สามารถส่งไปได้เรื่อยๆ ไม่หยุดชะงัก
ขณะที่ นายบูคอรี ดอมาโซ ชาวบ้านรามัน ซึ่งได้มีโอกาสเข้ามาทำงานที่โรงงานแช่แข็ง บอกว่า ปกติจะทำงานรับจ้างทั่วไป เพิ่งจะมาทำงานได้ประมาณ อาทิตย์กว่า โดยจะมีหน้าที่จัดตะกร้า ยกทุเรียน นำทุเรียนใส่กล่อง การเปิดโรงงานแบบนี้ ก็ช่วยให้เยาวชน วัยรุ่น ได้มีงานทำ มีรายได้ ช่วงนี้ โควิด ด้วย
ด้าน นางซีด๊ะ กาจิ ชาวบันนังสาเรง ซึ่งทำหน้าที่คัดเกรด A B C ทำความสะอาดเนื้อทุเรียน แพ็คกล่อง บอกว่า การจ้างงานคนในพื้นที่ ให้มีงานทำในโรงงานแช่แข็งทุเรียน ช่วยเหลือคนได้ดีมาก พอดีช่วงนี้คนตกงานกันลำบากมาก ช่วงโควิด ชาวบันนังสาเรง ที่มาก็จะมากันเป็นกลุ่มมาทำงาน เพื่อเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัว อนาคตข้างหน้า ในหมู่บ้านจะมีทุเรียนเยอะปลูกกัน ก็จะนำประสบการณ์จากตรงนี้ การคัดเกรดทุเรียน ไปพัฒนาในพื้นที่ด้วย
———————–