Wednesday, 5 February 2025

DNA หลักฐานสำคัญหาตัวผู้กระทำความผิด

18 Aug 2021
869

การออกมาเคลื่อนไหวการตรวจ DNA ของสื่อแนวร่วม กล่าวหาว่ามีการละเมิดสิทธิมนุษยชนนั้น ข้อเท็จจริงเป็นเช่นไรเรามาฟังกัน?

คำถาม!! ทำไมเจ้าหน้าที่ต้องเก็บ DNA ของบุคคลต้องสงสัยหรือบุคคลทั่วไปนั้นกระทำได้หรือไม่  อย่างไร?  และมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด ในการตรวจ DNA ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นที่ถกเถียงของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเจ้าหน้าที่บอกว่ากระทำได้ ฝ่ายที่ถูกกระทำออกมาเคลื่อนไหวกล่าวหาว่าเป็นการละเมิด

ที่ผ่านมา ในทางปฏิบัติเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องปฏิบัติภายใต้กรอบของกฎหมาย โดยจะต้องคำนึงถึงหลักสัดส่วนของกฎหมายมหาชน กล่าวคือ “ชั่งน้ำหนักการคุ้มครองสิทธิของประชาชน” กับ“อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน” ให้อยู่ในระดับพอดี ซึ่งพื้นที่ จชต. เหตุการณ์ความไม่สงบได้เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง เจ้าหน้าที่รัฐจึงจำเป็นต้องใช้มาตรการในการป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่เข้มข้นมากกว่าปกติ อาจไปกระทบสิทธิของประชาชนบ้างแต่ก็ใช้อย่างระมัดระวัง เช่นการตรวจเก็บ DNA บุคคลหรือการไม่ได้รับความสะดวกในการตรวจค้น

การใช้อำนาจในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่มาจากไหน? ก็มาจากกฎหมายปกติ คือประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความซึ่งบังคับใช้ทั่วประเทศอยู่แล้ว ในมาตรา 17 กล่าวคือ พนักงานฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน และเพื่อจะทราบรายละเอียดแห่งความผิดหลังเกิดเหตุ ดังนั้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถใช้อำนาจดังกล่าวได้ แต่อาจไปกระทบสิทธิของบุคคลบ้าง ต้องสมเหตุสมผล ไม่ใช่การที่เจ้าหน้าที่รัฐจะใช้อำนาจไปจับตัวใครก็ได้มาทำประวัติตรวจ DNA โดยไม่มีเหตุผล! และที่สำคัญการตรวจ DNA ได้รับความร่วมมือจากบุคคลยินยอมให้ตรวจ  ไม่มีการบังคับจากเจ้าหน้าที่แต่อย่างใด   อย่างเช่นกรณีตัวอย่างที่พึ่งผ่านไป กรณีที่มีการกล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่บังคับตรวจ DNA  นายมะหะมะรอฟีอิง หะยีสาอิ  บาบอปอเนาะ (ซูบูลุซสาลาม) อ.สายบรี มีการบังคับตรวจสาร DNA หลายสิบคน  มีการโจมตีเจ้าหน้าที่ผ่านการแถลงการณ์ด้วยกลุ่มนักสิทธิมนุษยชน แต่ก็ถูกสวนกลับจากบาบอซูบูลุซสาลามด้วยคลิปมีความว่า “ทุกคนที่มีรายชื่อตรวจมาพร้อมด้วยความเต็มใจ ให้ความร่วมมือไม่มีการบังคับ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ  แต่ข่าวที่ออกไปมันไม่ใช่เรื่องจริง  แล้วพูดออกมาได้อย่างไร  เพราะข่าวเร็วไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเลยทำให้ชาวบ้านสับสน ทำไมไม่มาตรวจสอบข้อเท็จจริงจากบาบอ”

แต่ที่น่าแปลกใจทุกวันนี้บุคคลต้องสงสัยที่ถูกกล่าวหาว่าถูกเจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิจากการตรวจ DNA กลับไม่เคยออกมาเรียกร้องเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐว่าการเก็บสาร DNA นั้น  ตนเองได้ถูกบังคับขู่เข็ญละเมิดสิทธิไม่สามารถปฏิเสธได้ให้จำยอมในการตรวจสาร DNA  ทั้งที่ปัจจุบันมีศูนย์ดำรงธรรม  ศูนย์ทนายความ และองค์กรสิทธิหลายองค์กรที่พร้อมให้การช่วยเหลือเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ  นั้นก็เป็นเพราะว่าเจ้าหน้าที่ยึดหลักมนุษยธรรมปฏิบัติตามกฎหมายการตรวจ DAN ต้องรับการยินยอมจากบุคคลเท่านั้นถึงจะกระทำได้  การละเมิดสิทธิเก็บสาร DNA ในโลกแห่งความจริงในพื้นที่จึงเป็นเพียงการถูกกล่าวหาที่ล่องลอย  แต่ในทางกลับกันในสื่อโซเซียลกล่าวหาบิดเบือนว่าตนเองถูกละเมิดสิทธิอย่างรุนแรงทั้ง ๆ ที่บุคลลที่โดนตรวจ DNA ถือว่าเป็นบุคคลต้องสงสัย ซึ่งเจ้าหน้าที่เองก็อาศัยอำนาจทางกฎหมายในการตรวจ การออกมาคัดค้านการตรวจสารพันธุกรรม (DNA) ของกลุ่มบางกลุ่มมีนัยแอบแฝงซ่อนเร้นอะไรหรือเปล่า ?  ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิดด้วยการละเมิดสิทธิ เหตุใดบุคคลดังกล่าวจึงไม่ออกมาแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับเจ้าหน้าที่รัฐ แต่กลับกันกลับทำตรงกันข้ามหลายคนกลับหลบหนี  

เมื่อ DNA กลายเป็นหลักฐานสำคัญในการมัดตัวผู้กระทำความผิด  โดยเฉพาะในพื้นที่ 3 จชต. ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบมา 17 ปีแล้ว  DNA จึงกลายเป็นหลักฐานสำคัญนิติวิทยาศาสตร์ที่สามารถยืนยันหาตัวผู้กระทำความผิด โปร่งใส่ ยุติธรรม  สามารถตรวจสอบได้  ซึ่งหลายคดีที่ผ่านมาก็สามารถคลี่คลายคดีใหญ่ๆ หาตัวผู้กระทำผิดได้ และคนร้ายก็ยอมรับสารภาพเพราะ DNA มันตัว อย่างเช่นกรณี คนร้ายระเบิด Big C ปัตตานี  กรณีปล้นรถยนต์ทำระเบิดคาร์บอมที่ นาทวี  กรณี 15 ศพ ชรบ.ลำพะยา

แต่ดูเหมือนว่าเรื่องการเก็บ DNA จะถูกนักสิทธิมนุษยชนและนักวิชาการภาคประชาสังคมออกมาต่อต้านตลอดเวลา  โดยให้ความเห็นว่าการตรวจเก็บ DNA เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ ขณะที่นักสิทธิมนุษยชน และภาคประชาสังคมกลุ่มเดิมๆ ก็ถูกตั้งคำถามจากสังคมในพื้นที่ว่า การออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านการตรวจสาร DNA หาตัวผู้กระทำความผิด ในครั้งนี้  เพื่อช่วยเหลือใครกันแน่?