“สันติสุขที่ยั่งยืน” เกิดจากความร่วมมือของประชาชน.
“การมีสันติสุขที่ยั่งยืน” เชื่อว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการให้เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสิ่งนี้จำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชน ตลอดจนการร่วมมืออย่างจริงใจของกลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่ เหตุผลและความจำเป็น ในการบังคับใช้กฎหมายพิเศษเพื่อความมั่นคงในพื้นที่ อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่จริงในพื้นที่ตรงนี้ ก็เข้าใจได้ไม่ยากว่าหากสถานการณ์คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น รัฐเองก็จะมีการปรับลด จนถึงยกเลิกการบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่นี้ ซึ่งปัจจุบัน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับ 4 อำเภอรอยต่อของ จ.สงขลา ซึ่งมีทั้งสิ้น 37 อำเภอ ก็มีการใช้กฎหมายพิเศษต่างกัน และก็คงปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่า ที่มาของกฎหมายซึ่งสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเจตนารมณ์นั้น ก็มาจากการที่ประชาชนยินยอมพร้อมใจ สละสิทธิพื้นฐานบางประการของตนเพื่อความสงบเรียบร้อยของสังคมส่วนรวมและความมั่นคงแห่งรัฐ โดยเฉพาะกฎหมายพิเศษเพื่อความมั่นคงที่ใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น นอกจากมีที่มาเหมือนกฎหมายทั่วไปในข้างต้นแล้ว ยังมีเจตนารมณ์เพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนผู้บริสุทธิ์อีกด้วย การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่เพื่อ ปิดล้อม จับกุมผู้ต้องสงสัยในหลายพื้นที่ที่ผ่านมานั้น หากได้ติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องและการแถลงข่าวต่างๆ จะเห็นว่าผู้ต้องสงสัยยอมรับสารภาพและให้เบาะแสจนนำมาสู่การจับบุคคลในกลุ่มขบวนการได้อย่างต่อเนื่อง ผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย จากการพูดคุยกับประชนในพื้นที่พบว่าประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้สึกว่าปลอดภัย และอุ่นใจมากขึ้น แต่อาจจะมีภรรยาและญาติของผู้ต้องสงสัยบางคนเท่านั้นที่ไม่พอใจและไม่เคยได้ทราบพฤติกรรมสามีของตน ซึ่งผู้ต้องหาบางรายมีภรรยาหลายคน หากถอดบทเรียนจากกระบวนการสันติภาพที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ พบว่าเงื่อนไขหนึ่งคือ บทบาทขององค์กรภาคประชาสังคมที่เคลื่อนไหวเชื่อมโยงภาครัฐกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ ซึ่งเชื่อว่าใน 38 องค์กร ของเครือข่ายเฉพาะกิจ เพื่อปกป้องพลเรือนและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นนี้ มีความจริงใจในการต้องการเห็นสันติสุขที่ยั่งยืน เกิดขึ้นในพื้นที่ แต่อาจจะมีแนวร่วมของขบวนการแอบแฝงเพื่อฉกฉวยประโยชน์จากความขัดแย้ง รุนแรง ในพื้นที่ ซึ่งถึงเวลาแล้วหรือยังที่ ภาครัฐจะได้แยกมิตรแยกศัตรูให้ชัดเจน และสนับสนุนองค์กรที่สุจริตใจในการแก้ไขปัญหาร่วมกันด้วยทรัพยากรที่มี สำหรับองค์กรที่เป็นแนวร่วมของขบวนการก็ต้องดำเนินการด้วยมาตรการทางกฎหมาย ทั้งนี้ … Continue reading “สันติสุขที่ยั่งยืน” เกิดจากความร่วมมือของประชาชน.
Copy and paste this URL into your WordPress site to embed
Copy and paste this code into your site to embed